( System Status, Internet Connection Type, DNS, LAN & DHCP Setting )
Tenda Router Wireless Series
W309R+/ FH303+/FH303 / F3 / FH305 / N301 / N150
1. เกริ่นนำเกี่ยวกับเมนู Home
เมนู Home ใน Router Wireless ของ Tenda จะเป็นเมนูสำหรับคลิกเพื่อกลับไปหน้า Quick Setup ที่เป็นหน้าตั้งค่าหน้าแรก มักจะใช้ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนชื่อ Wireless และรหัสผ่านของ Wireless แบบรวดเร็วครับ
การปรับแต่งค่าของหน้า Quick Setup ที่คลิกมาจากเมนู Home ครับ
.
2. เกริ่นนำเกี่ยวกับเมนู Advanced
- System Status : เป็นเมนูสำหรับตรวจสอบสถานการณ์เชื่อมต่อ Internet ของตัว Router Wireless และข้อมูลของอุปกรณ์
- Internet Connection Type : เป็นเมนูสำหรับตั้งค่าโหมดการเชื่อมต่อ Internet
- MAC Clone : เป็นเมนูสำหรับเปลี่ยนค่า MAC Address ของ WAN พอร์ต
- WAN Speed: เป็นเมนูสำหรับปรับความเร็วของ WAN พอร์ต ให้สัมพันธ์ กับสาย LAN หรือความเร็วที่มาจากอุปกรณ์ต้นทาง
- LAN Settings : เป็นเมนูสำหรับจัดการ IP Address ของฝั่งขา LAN ของอุปกรณ์
- DNS Settings : เป็นเมนูสำหรับจัดการ DNS ของฝั่งขา WAN ให้ใช้ DNS Server ที่ต้องการ
- DHCP Server : เป็นเมนูสำหรับจัดการ IP Address และช่วงของ IP Address ที่ต้องการแจกให้กับเครื่อง Clients
- DHCP Client List : เป็นเมนูสำหรับตรวจสอบสถานะ IP Address ของเครื่อง Clients ว่าเครื่องไหนได้รับ IP Address อะไร และเป็นเมนูสำหรับกำหนดให้แจก IP Address แบบ Fix ให้กับ Clients
NOTE : นอกจากผู้ใช้จะเข้าหน้าตั้งค่า Router Wireless ด้วยการกดปุ่ม OK จากหน้า Quick Setup ในตอนเซตตั้งค่าครั้งแรก ได้แล้ว แนะนำสำหรับการเข้าหน้า Advanced ครั้งต่อ ๆ ไปให้ด้วยการกดปุ่มตรงบรรทัด “ Advanced “ จากหน้า Quick Setup หน้าแรกครับ
3. เมนู System Status
4. เมนู Internet Connection Setup
เมนู Internet Connection Setup เป็นเมนูสำหรับตั้งค่าในส่วนของโหมดการเชื่อมต่อ Internet ของ Router Tenda ขา WAN ให้เหมาะสมและตรงกันกับ Mode ของ Modem Router ตัวหลัก ที่แชร์ Internet มาจากต้นทางครับ เมื่อเชื่อมต่อกันได้เรียบร้อยแล้ว ก็จะทำให้สามารถใช้งาน Internet ผ่าน Router Tenda ได้ครับ สำหรับรูปแบบการเชื่อมต่อที่เกี่ยวข้องจะมีหลัก ๆ อยู่ 2 แบบการเชื่อมต่อคือ
แบบ Router Wireless : คือการเชื่อมต่อแบบที่ลากสายจาก Modem Router ตัวหลักมาเสียบเข้า Router Tenda ที่ช่องสีฟ้า
Internet Connection Type ในเมนู Advanced จะเชื่อม สัมพันธ์กับ Internet Connection Setup ที่อยู่ในหน้า Quick Setup ครับ โดยจะมีดึงออกมา 3 โหมดที่นิยมใช้กันดังรูป ซึ่งถ้ามีการปรับเปลี่ยนโหมดในหน้า Quick Setup ก็จะเปลี่ยนในหน้า Advanced ด้วยครับ
โหมดการเชื่อมต่อ Internet ในหน้า Advanced ที่สามารถเลือกได้จะมีด้วยกัน 6 โหมด คือ PPPoE, Static IP, DHCP, PPTP, L2TP และ PPPoE Dual Access ซึ่งแต่โหมดจะขึ้นอยู่กับว่า ชนิดของ Internet หรือโหมดของ Modem Router ต้นทางมีการเซตตั้งค่ามาเป็นแบบไหนครับ โดยมีรายละเอียดของการเลือกโหมด Internet Connection Type แต่ละตัวดังนี้
PPPoE
โหมด PPPoE คือโหมดที่ตัว Router Tenda ใช้งานร่วมกับ Modem Router ที่เซตตั้งค่าเป็น Bridge Mode ไว้ โดยต้องเอา Username กับ Password ของ ISP มาใส่ในตัว Router Wireless Tenda เพื่อให้สั่ง Connect Internet ครับ
Static IP
โหมด Static IP คือ โหมดที่ตัว Router Tenda ใช้งานร่วมกับ Modem Router ที่เซตตั้งค่าเป็น Router Mode หรือ PPPoE + NAT แต่ไม่มีการเปิด DHCP Server ให้แจก IP แบบ Auto ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเซตตั้งค่า WAN ของ Router Tenda ให้เป็นค่า Fix IP เอง ซึ่งโหมดนี้มักจะเหมาะสำหรับผู้ใช้ที่มีความรู้ และทราบหมายเลข หรือชุด IP Address ที่สามารถ Fix IP แล้วใช้งานได้ครับ
DHCP
โหมด DHCP คือ โหมดที่ตัว Router Tenda ใช้งานร่วมกับ Modem Router ที่เซตตั้งค่าเป็น Router Mode หรือ PPPoE + NAT และมีการเปิด DHCP Server ให้แจก IP แบบ Auto ให้กับเครื่อง Clients ซึ่งตัว Router Tenda ที่เซตให้รับ DHCP มา ก็จะได้รับหมายเลข IP Address และชุดหมายเลขที่ระบุเส้นทางให้สามารถเชื่อมต่อออก Internet ได้ถูกต้องครับ โดยไม่ต้อง Fix IP ขา WAN ให้ยุ่งยาก
PPTP / L2TP
โหมด PPTP คือ โหมดสำหรับเชื่อมต่อ VPN แบบ PPTP ไปยัง Server VPN ที่มีระบุหมายเลขไว้ เพื่อให้อุปกรณ์ สามารถเชื่อมต่อไปใช้ ทรัพยากร ของอุปกรณ์ VPN อีกฝั่งครับ หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นก็ตามแต่ โดยทั้ง PPTP และ L2TP ก็เซตเหมือนกันคือ ต้องมี Account สำหรับเชื่อมต่อกับ VPN Server ด้วย
PPPoE Dual Access
โหมด PPPoE Dual Access เป็นโหมดที่ออกแบบมาเฉพาะกับการเชื่อมต่อ Internet บางราย หรือบางโซนประเทศเท่านั้น เช่น Russia เป็นต้น ซึ่งโหมดนี้นอกจาก Router Tenda ต้องรับ IP Address แบบ Auto มาแล้วยังต้องมี Account ในการกรอกเพื่อสั่งเชื่อมต่อ Internet อีกด้วยครับ
4.1. ตัวอย่างการเซตโหมด WAN แบบ DHCP
โหมด WAN แบบ DHCP จะเป็นโหมด Default ที่ Router Tenda ตั้งค่ามาจากโรงงานครับ โดยการเซต Internet Connection Type เป็น DHCP นั้น มักจะใช้เวลาที่เชื่อมต่อกับ Modem Router ตัวหลัก ที่เซตมาเป็น Router Mode หรือ PPPoE + NAT เพื่อให้ WAN ของ Router Tenda รับ IP Address Auto ที่แจกมาจาก Modem Router ครับ พอรับ WAN IP มาแล้ว ก็ NAT ต่อเป็น IP Address อีกชุดหนึ่งแจกให้กับ Client อีกทีครับ
NOTE : วิธีสังเกต โหมดของ Modem Router ตัวหลักว่าเป็น Router Mode หรือไม่ โดยให้ลองเสียบสาย LAN หรือ Connect Wireless ตรงกับ Modem Router ตัวหลัก แล้วใช้งาน Internet ดู ถ้าใช้ได้เลย ก็แปลว่า สามารถเซต Router Tenda ให้ WAN เป็น DHCP ได้ครับ แต่ถ้าต่อสายตรงกับ Modem Router ตัวหลัก หรือเชื่อมต่อใช้งาน Wireless แล้วใช้เน็ตไม่ได้ แปลว่า Mode การทำงานเป็นแบบอื่นครับ
การเซตโหมด WAN ให้เป็น Type แบบ DHCP นั้น จะเป็นโหมดที่นิยมใช้กันเยอะสุด เพราะว่าเวลาขอเน็ตมาใช้งาน ISP จะแถม Modem Router หรือ Router Wireless ที่ทำงานเป็น PPPoE + NAT มาอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น เน็ต TOT, 3BB, TRUE ก็ตามครับ ดังนั้น ผู้ใช้ก็สามารถเอาสาย LAN จาก Modem Router เหล่านั้นมาเสียบเข้าช่อง WAN เลือก Type เป็น DHCP ได้เลย หรือไม่ก็เวลาเซตโหมด Repeater ขยายสัญญาณ ด้วยโหมด WISP ก็อ้างอิง WAN เป็น DHCP ได้เช่นกัน
รูปแสดงรายละเอียด WAN แบบ DHCP ที่ Router Tenda ได้รับค่า IP Address Auto ที่แจกมาจาก Modem Router ตัวหลักครับ.
4.2. ตัวอย่างการเซตโหมด WAN แบบ PPPoE
การเซต Internet Connection Type เป็น PPPoE นั้น มักจะใช้กับความต้องการเฉพาะกับ ISP บางราย ที่อาจจะแถมอุปกรณ์ Modem หรือ ONU ที่เป็น Bridge Mode มาให้ หรือกับผู้ใช้บางราย ที่มีความต้องการเซต Modem Router ให้เป็น Bridge Mode อาจจะเพื่อทำ Forward Port และใช้งาน DDNS เป็นต้น ทำให้จำเป็นต้อง มาเซตในส่วน WAN ของ Router Tenda ให้เป็น PPPoE Mode ครับ
การเซต WAN Type แบบ PPPoE จะมีรายละเอียดปลีกย่อย เยอะกว่า Type แบบ DHCP และ Static IP ครับ ดังนี้
รูปแสดงรายละเอียด WAN แบบ PPPoE ที่ Router Tenda ได้รับค่า IP Address แบบ Public IP หรือ Private IP ที่แจกมาจาก ISP ครับ
4.3. ตัวอย่างการเซตโหมด WAN แบบ Static IP
โหมด WAN แบบ Static จะมีหลักการใช้งาน และการเชื่อมต่อเหมือนกับ DHCP นั่นคือ เชื่อมต่อกับ Modem Router ตัวหลัก ที่เซตโหมดเป็น PPPoE + NAT หรือเซตเป็น Router Mode ไว้ แต่ตัวหลักอาจจะมีการปิด DHCP Server ทำให้เครื่อง Clients ที่เชื่อมต่ออยู่ ไม่สามารถรับ IP Address แบบ Auto มาได้ ซึ่งการใช้งาน ก็จะต้องทำการ Fix IP ที่เครื่อง Clients แต่ละเครื่อง ให้ IP Address เป็น Local IP ของ Modem Router ตัวหลัก และก็เช่นเดียวกัน คือ ก็ต้อง Fix IP Address ฝั่งขา WAN ของ Router Tenda เพื่อให้ใช้งาน Internet ได้
NOTE : โหมด WAN แบบ Static ถือเป็นโหมดสำหรับผู้ใช้ที่มีความรู้เรื่อง IP Address เพราะจำเป็นต้องหา IP Address ชุดที่ว่าง และต้องทราบ หมายเลข IP ของ Gateway และ DNS Server ครับ ดังนั้น ถ้าผู้ใช้ทั่วไปจะเซต WAN เป็น Static IP ก็แนะนำให้ติดต่อ Support เพื่อให้แนะนำวิธีการตั้งค่าครับ
การเซต WAN Type แบบ Static IP จะมีรายละเอียดปลีกย่อย เพิ่มขึ้นมากกว่า DHCP ครับ ผู้ใช้ควรเตรียมข้อมูลก่อนเซตโหมดดังกล่าว ตามนี้
5. เมนู MAC Clone
ยกตัวอย่าง ตึก A มีการ Lock MAC Address ของ Computer PC ห้อง AA เพื่อให้สามารถใช้งาน Internet ผ่านสาย LAN ได้เครื่องเดียว แต่ห้อง AA ต้องการใช้ Wireless เพิ่มจึงซื้อ Router Tenda มาเพิ่ม แต่ไม่สามารถใช้งานได้ เพราะถูก Lock MAC Address ไว้ ดังรูป
ตรงนี้ จึงต้องใช้ฟังก์ชั่น MAC Clone มาเป็นตัวช่วยทำให้ระบบของตึกเข้าใจว่า Port WAN ของ Router Tenda คือ LAN ของ Computer
ตัวอย่าง หน้า Status แสดง สถานะของการเชื่อมต่อ ที่เป็น Connecting เพราะค่า WAN MAC Address ยังไม่ได้ถูก Clone ให้เป็น MAC Address ของ LAN Computer PC ครับ
หลังจากเปลี่ยน MAC Address ของ WAN จากเมนู MAC Clone ให้ตรงกับ LAN MAC Address ของ Computer PC แล้ว ก็สามารถเชื่อมต่อและได้รับ หมายเลข IP Address จาก Modem Router ของตึกครับ
6. เมนู WAN Speed
บางครั้ง สาย LAN ที่ลากมาเชื่อมต่อกับ WAN ของ Router Tenda มีการเข้าหัวผิด ไม่ตรงกับมาตรฐาน ทำให้ความเร็ว หรือ Speed ที่มาตามสาย LAN ไม่เต็ม 100Mbps เวลาเสียบกับ WAN ของ Router Tenda ก็จะขึ้นสถานะว่า Disconnect เป็นต้น จึงอาจจะต้องปรับความเร็ว WAN Speed ให้เป็นแบบ Manual เองครับ โดยมีความเร็วให้ปรับ ตั้งแต่ 10M HALF, 10M FULL, 100M HALF และ 100M FULL ดังรูป
7. เมนู LAN Settings
หลังจากเปลี่ยนหมายเลข IP Address เป็น IP ชุดใหม่แล้ว กดปุ่ม OK จะมีข้อความแจ้งเตือนว่า การเปลี่ยน IP Address จะมีผลต่อการเข้าหน้าตั้งค่า ในครั้งต่อไป ผู้ใช้ต้องทำการ Renew IP ของเครื่องใหม่ เพื่อจะได้เข้าหน้าตั้งค่า Router Tenda ด้วย IP ใหม่ครับ ให้กด OK ยืนยัน
หลังจากกดปุ่ม OK ยืนยันแล้ว รออุปกรณ์ Reboot ค่าใหม่ สักครู่ครับ
กลับมาหน้า ตั้งค่าอีกครั้ง ก็จะต้องเข้าด้วย IP Address ใหม่ ยกตัวอย่าง 192.168.100.1 ครับ
8. เมนู DNS Settings
ตัวอย่างรูปแสดงให้เห็นว่า โหมด WAN ที่เซตเป็นแบบ DHCP จะรับค่า IP Auto มารวมทั้ง DNS Server ที่ได้รับมาเป็น Local DNS
ตัวอย่างการเปลี่ยน DNS Server ให้เป็น DNS Server ของ Google ครับ คือ 8.8.8.8 และ 8.8.4.4 โดยหลังจากเปลี่ยนแล้ว กดปุ่ม OK และต้อง Reboot ตัวอุปกรณ์ใหม่เพื่อให้ค่าเริ่มทำงานครับ
หลังจากเปลี่ยนค่า DNS Server แล้ว สังเกตในหน้า System Status ในส่วนของ WAN Status ตรง DNS Server และ Alternate DNS Sever ก็จะเปลี่ยนเป็น หมายเลข DNS ที่เปลี่ยนจากเมนู DNS Settings เรียบร้อยครับ
9. เมนู DHCP Server
เช็คเครื่องหมายถูกตรงช่อง “ Enable “ เพื่อเปิดการทำงานของฟังก์ชั่น การแจก IP Address ครับ และกำหนด IP Address เริ่มต้นที่จะให้แจกในช่อง “ IP Pool Start Address “ และกำหนด IP Address สิ้นสุดที่จะให้แจกในช่อง “ IP Pool End Address “ ครับ โดยค่า End Address จะแนะนำไม่ให้เกิน 254 ครับ และช่วง Range IP Address ไม่ควรอยู่ในช่วง IP Address ของ Router Tenda ด้วยครับ
ในส่วนของการตั้งค่า Lease Time จะเป็นส่วนของการกำหนดระยะเวลาของหมายเลข IP Address ที่แจกให้กับแต่ละเครื่อง ว่าจะมีหมดอายุเมื่อไหร่ คือ ไม่ได้รับถาวรนะครับ ทำให้พอผ่านไปหลาย ๆ วัน อาจจะกลายเป็นว่า เครื่อง Clients เครื่องนั้น ๆ ได้รับหมายเลข IP Address ใหม่ ไม่ใช่ IP Address ทำให้ ทั้งนี้ เพื่อจะได้นำเอา IP Address มาวนใช้งาน เสมือนเป็นการบริหารจัดการ IP Address ครับ
NOTE : การปิด DHCP Server โดยเอาเครื่องหมายถูกออกนั้น มักจะใช้สำหรับโหมด Access Point และ WDS Bridge ครับ
10. เมนู DHCP Client List
10.1. DHCP Client List
เมนู DHCP Client List เป็นเมนูสำหรับดูรายชื่อเครื่อง Client ที่เชื่อมต่อเข้ามายัง Router Tenda ทั้งที่เชื่อมต่อมาทางสาย LAN และเชื่อมต่อมาทาง Wireless ครับ โดยจะแสดงชื่อที่ตั้งในอุปกรณ์นั้น ๆ, IP Address, MAC address และ Lease Time เวลาที่เหลือในการเปลี่ยน IP Address ครั้งต่อไป ดังรูปตัวอย่าง ช่วยให้ผู้ใช้ทราบว่า มีเครื่องไหนที่เชื่อมต่อเข้ามาแล้วได้รับหมายเลข IP Address จาก Router Tenda เรียบร้อยดีบ้างครับ และเมนูนี้ก็จะเป็นเมนูสำหรับนำเอาค่า MAC Address หรือ IP Address ไปใช้เซตตั้งค่าฟังก์ชั่นอื่น ๆ อีกด้วยครับ
10.2. Static Assignment
เป็นเมนูย่อยใน DHCP Client List ที่ออกแบบมาสำหรับ การตั้งค่าให้ Router Tenda ทำการแจก IP Address แบบคงที่ให้กับ Computer PC, Notebook หรืออุปกรณ์มือถือ Tablet เครื่องนั้น ๆ ให้ได้ IP Address แบบคงที่ตลอด อาจจะใช้สำหรับนำไปประยุกต์ใช้กับการ Forward Port หรือจำกัด Bandwidth หรือตั้งเครื่องนั้นให้เป็น Server เป็นต้น เพราะถ้าค่า IP Address คงที่ ก็จะสามารถเข้าถึง IP Address หรือเครื่องนั้นได้ทุกครั้ง โดยเป็นฟังก์ชั่นที่ไม่ต้องไปยุ่ง หรือไป Fix IP ที่เครื่องนั้นๆ เองแบบ Manual ครับ ดังรูปตัวอย่าง
สำหรับการตั้งค่า Fix IP แบบ Static Assignment ก็สามารถทำได้ด้วยการ เอาค่า MAC Address ของเครื่องที่ต้องการ ( ดูจากตาราง DHCP Client List ) แล้วขึ้นไปกรอกค่า IP Address ที่ต้องการให้แจกแบบ Fix และระบุ MAC Address ของเครื่องที่ต้องการ ให้ถูกต้อง เสร็จแล้ว ก็กดปุ่ม Add ครับ แล้วกดปุ่ม OK ด้านล่างสุด ก็เป็นอันเรียบร้อยครับ
หลังจากที่ Add ค่า IP และ MAC Address เรียบร้อยแล้ว ถ้ากลับมาดูตรงช่อง Lease Time ของเครื่องที่ตั้งเงื่อนไขไว้ ก็จะมีแสดงค่า IP และ MAC ของเครื่องนั้น ในตารางของ “ “ และในด้านล่างตรงตารางจะขึ้นข้อความกำกับว่า “ Permanent “ ดังรูปครับ
******************** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่เบอร์ 02-3123641 – 6 ( 6 คู่สายอัตโนมัติ ), 086-3697855 *********************